รู้ไว้ก่อนเสียบ หัวชาร์จรถไฟฟ้าในไทยมีกี่ประเภท

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ

  • การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge)เป็นการชาร์จไฟฟ้าจากเต้ารับโดยตรง โดยขนาดมิเตอร์ขั้นต่ำ คือ 30(100)A ที่สำคัญการที่จะชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้น จะต้องติดเต้ารับใหม่ โดยใช้ไฟบ้านเป็นกระแสสลับ (AC) ระยะเวลาในการชาร์จประมาณ 12-16 ชม.
  • การชาร์จแบบรวดเร็ว (Double Speed Charge)เป็นการชาร์จจากเครื่อง EV Charger เครื่องนี้จะเป็นเครื่องชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) จุดเด่นของเครื่องนี้คือ สามารถชาร์จพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่รถยนต์ให้เต็มไวขึ้น เหลือเวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชม.
  • การชาร์จแบบด่วน (Quick Charge)เป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) ที่จะส่งกระแสไฟเข้าแบตเตอรี่โดยตรง ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้ในเวลาเพียง 40-60 นาที แต่การชาร์จแบบนี้มีข้อเสียอยู่เช่นกัน เพราะการชาร์จแบบด่วนนั้นจะทำให้ตัวแบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วขึ้น โดยเรามักจะใช้การชาร์จแบบนี้ที่ตู้ชาร์จนอกบ้าน เช่น ตามห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

หัวชาร์จสำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)

Type 1 รองรับระบบไฟแบบ 1 เฟส รองรับกระแสไฟฟ้าได้ 32A (7.4 kWh) จะมีด้วยกัน 5 ขา โดยปลั๊กรูปแบบนี้จะพบได้ในรถญี่ปุ่นและรถยนต์ไฟฟ้าจากอเมริกา

Type 2  รองรับระบบไฟแบบ 1 เฟส รองรับกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 70A (16.8 kWh) รวมไปถึงสามารถรองรับไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟสได้เช่นกัน ด้วยกระแสไฟฟ้า 63A (43 kWh)/เฟส มีด้วยกัน 7 ขา ซึ่งในประเทศไทยเราก็จะนิยมประเภทนี้เช่นกัน

หัวชาร์จสำหรับไฟฟ้ากระแสตรง (DC)

CHAdeMO   หัวชาร์จรูปแบบนี้จะพบได้ในรถยนต์ญี่ปุ่น อเมริกา ซึ่งปลั๊กรูปแบบนี้จะมีใช้งานอย่างแพร่หลาย

Combined Charging System หรือ CCS   หัวชาร์จแบบนี้สามารถรองรับได้ทั้งการชาร์จแบบกระแสตรงและกระแสสลับ โดยด้านบนสุดจะเป็นปลั๊กสำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ ส่วนด้านล่างจะเป็นปลั๊กกระแสตรง แยกความแตกต่างกันโดย CCS Type 1 จะมีความสัมพันธ์กับปลั๊กแบบ AC Type 1 ส่วน CCS Type 2 จะมีความสัมพันธ์กับปลั๊กแบบ AC Type 2  

Scroll to Top