เอาตัวรอด! ขับรถลุยน้ำท่วมยังไงให้ปลอดภัยที่สุด !

  ช่วงหน้าฝนทีไร ปวดใจทุกที! อีกหนึ่งปัญหาโลกแตกของผู้ใช้รถเมื่อต้องเผชิญกับน้ำท่วม ยิ่งในบางพื้นที่มีน้ำท่วมขังสูง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางเป็นอย่างมาก วันนี้ BRG มีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับขับรถลุยน้ำท่วมยังไงให้ปลอดภัยที่สุดมาให้ชมกัน !

ระดับน้ำ 5-10 เซนติเมตร

ระดับน้ำใน Level นี้ ถือเป็นน้ำขังแบบเล็ก ๆ ทั่วไป ซึ่งน้ำในระดับนี้รถยนต์ปกติสามารถขับลุยน้ำได้ แต่ควรขับด้วยความระมัดระวัง

  • ระดับน้ำ10-20 เซนติเมตร

เป็นน้ำท่วมขังระดับปานกลาง รถยนต์ขนาดเล็ก ยังสามารถขับผ่านไปได้ แต่ผู้ขับขี่รถยนต์ขนาดเล็กอาจรู้สึกถึงน้ำที่มากระทบใต้ท้องรถ ดังนั้นควรชะลอความเร็วเพื่อลดการเกิดกระทบของน้ำ

  • ระดับน้ำ 20-40 เซนติเมตร

ปริมาณน้ำในระดับนี้เริ่มสูงเกินไปสำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก มีโอกาสสูงที่น้ำอาจเข้าห้องเครื่อง  รวมไปถึงน้ำอาจเข้าไปเลอะพรมในห้องโดยสารได้ แนะนำว่ารถยนต์ขนาดเล็กควรหลีกเลี่ยง ส่วนรถยนต์ขนาดใหญ่หรือรถกระบะ สามารถขับผ่านน้ำในระดับนี้ได้อยู่

  • ระดับน้ำ 40-60 เซนติเมตร

น้ำในระดับนี้เริ่มเป็นอันตรายต่อรถยนต์ขนาดเล็ก แนะนำว่าหลีกเลี่ยงได้คือดีที่สุด แต่รถยนต์ขนาดใหญ่ เช่น รถกระบะ รถยนต์ PPV และรถบรรทุก ยังคงสามารถขับผ่านไปได้ แต่ควรระมัดระวังเช่นกัน เพราะน้ำในระดับนี้เมื่อรถยนต์วิ่งผ่าน จะสร้างคลื่นแรงกระทบเข้าห้องเครื่องได้

  • ระดับน้ำ 60-80 เซนติเมตร

ระดับน้ำใน Level นี้ค่อนข้างจะเป็นอันตรายกับรถยนต์เกือบทุกประเภท เพราะระดับน้ำสูง สามารถเข้าห้องเครื่องได้โดยง่าย และส่งผลให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหายได้

  • ระดับน้ำสูงเกิน 80 เซนติเมตร

น้ำในระดับนี้ควรหลีกเลี่ยง ไม่ควรขับฝ่าน้ำระดับนี้ไปเด็ดขาด! โดยเฉพาะรถยนต์ขนาดเล็ก เพราะน้ำระดับเกิน 80 เซนติเมตร เป็นระดับน้ำที่สูงเกือบเท่าฝากระโปรงรถเลยทีเดียว อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพราะตัวรถอาจไม่ยึดเกาะกับผิวถนน ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่มาก ๆ

3 วิธีที่ควรปฏิบัติเมื่อต้องขับรถลุยน้ำขัง ฉบับง่าย ๆ แต่ได้ผลจริง!

  • ปิดเครื่องปรับอากาศในรถยนต์

หากต้องลุยน้ำในระดับสูงแต่ไม่เกิน 60 เซนติเมตร แนะนำว่าควรปิดแอร์ในรถยนต์ก่อน  เนื่องจากพัดลมจะพัดน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง อาจทำให้เครื่องยนต์ดับได้ แต่บางกรณีเครื่องยนต์อาจไม่ดับ แต่ใบพัดที่กำลังหมุนขณะเปิดแอร์ อาจนำเศษขยะ กิ่งไม้ต่าง ๆ พัดเข้ามาในห้องเครื่อง ทำให้ระบบระบายความร้อนมีปัญหาได้

  • ลดความเร็วในการขับขี่

การขับขี่รถในขณะมีน้ำท่วมขังก็ถือว่าควรระวังเป็นพิเศษแล้ว การลดความเร็วในการขับขี่ก็สำคัญเช่นกัน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและลดการเกิดคลื่นแรงไปปะทะกับรถยนต์คันใกล้เคียง อีกทั้งหากน้ำที่มากระทบเข้าไปยังห้องเครื่องหรือระบบไฟฟ้า อาจะเกิดความเสียหายตามมาได้เช่นกัน

  • ควรขับเว้นระยะห่างจากคันข้างหน้า

เนื่องจากการขับขี่ขณะน้ำท่วมขังนั้น ระบบเบรกอาจทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือเบรกไม่อยู่นั้นเอง

คำถามชวนคิด ? ถุงคลุมรถกันน้ำท่วม ควรใช้หรือไม่?!

   รถใครใครก็รัก ยิ่งถ้าต้องเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วมรถยนต์แล้วละก็ หลายคนคงปวดใจไปตาม ๆ กัน แนะนำว่าหากมีเวลาควรนำรถยนต์ไปไว้ในที่สูงที่ปลอดภัยจากการโดนน้ำขังได้จะดีที่สุด และที่สำคัญ! ไม่แนะนำให้ใช้ถุงคลุมรถหรือถุงกันน้ำท่วมรถ เพราะเมื่อรถแช่น้ำนาน ๆ ประกอบกับความชื้นในตัวรถที่มีมาก จะทำให้เกิดเชื้อราขึ้นได้ ซึ่งผลเสียอย่างแรกที่จะเจอเลยคือ เชื้อราจะขึ้นเติมรถไปหมด รองลงมาคืออันตรายต่อร่างกายเรา เพราะเชื้อราเป็นเชื้อที่ส่งผลโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนังและระบบประสาท

 นอกจากนี้การหลีกเลี่ยงการใช้รถเมื่อน้ำท่วมหนักถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะหากน้ำท่วมรถแล้ว จะส่งผลต่อระบบส่วนต่าง ๆ ภายในรถอีกมากมาย และตามมาด้วยการส่งซ่อมที่ผู้ใช้รถอย่างเรา ๆ ไม่ถูกใจเอาเสียเลย เพราะบางทีช่างก็ไม่ทะนุถนอมรถเรา  ทั้งนี้หากใครกำลังมองหาศูนย์บริการ ตรวจเช็กและซ่อมรถยนต์นำเข้าที่ได้รับมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลด้านงานสี งานห้องเครื่อง สามารถนำเข้ามาเช็กได้ BRG ทั้ง 3 สาขา  ศรีนครินทร์ รามคำแหงและแจ้งวัฒนะ เรายังเป็นเจ้าเดียวที่มีสต็อกอะไหล่รถยนต์นำเข้าหลากหลายยี่ห้อโดยไม่ต้องรอสั่ง อาทิ Mercedes Benz  Volkswagen Toyota  Honda  Porsche และรุ่นอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับศูนย์บริการซ่อมรถได้ที่ 085-248-2025 หรือ 094-484-3977

ขอขอบคุณข้อมูลจาก pptv

ดูรายละเอียดรถยนต์รุ่นต่าง ๆ คลิก  

อ่านข่าวสารและโปรโมชั่น  คลิก 

อ่านสาระน่ารู้เกี่ยวกับการดูแลรถยนต์ คลิก 

Scroll to Top
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.